วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์กล้วยน้ำว้า

ประวัติกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยพันธุ์หนึ่ง พัฒนามาจากลูกผสมระหว่างกล้วยป่ากับกล้วยตานี บริโภคกันอย่างแพร่หลาย ปลูกง่าย รสชาติดี สำหรับกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามสีของเนื้อ คือ น้ำว้าแดง น้ำว้าขาว และน้ำว้าเหลือง คนไทยรับประทานกล้วยน้ำว้าทั้งผลสด ต้ม ปิ้ง และนำมาประกอบอาหาร นอกจากนี้ยังมีกล้วยน้ำว้าดำ ซึ่งเปลือกมีสีครั่งปนดำ แต่เนื้อมีสีขาว รสชาติอร่อยคล้ายกล้วยน้ำว้าขาว สำหรับกล้วยตีบเหมาะที่จะรับประทานผลสด เพราะเมื่อนำไปย่าง หรือต้มจะมีรสฝาดกล้วยน้ำว้ามีชื่อพื้นเมืองอื่นเช่น กล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยใต้ หรือ กล้วยอ่อง เดิมจัดเป็นชนิด Musa sapientuL.
วงศ์        Musaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์   Musa sapientum L.
 ชื่อไทย กล้วยน้ำว้า
 ชื่อท้องถิ่น           แผละตุ้ม(ลั้วะ), เจ้าวหมั่ว(ม้ง), กล้วย(ไทลื้อ), กล้วยไต้(คนเมือง), น่อมจิ่วซบ(เมี่ยน), เส่อกุ้ยโซ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), น่อมจิ่วซบ(เมี่ยน)

                ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์                เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน (rhizome) อายุได้หลายปี ลำต้นบนดินรูปทรงกระบอก สูง 2-9 เมตร เป็นลำต้นปลอม เกิดจากกาบใบห่อหุ้มซ้อนกัน ใบ ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปขอบขนาน ท้อง

ใบ (lower epidermis) สีขาวนวล ขนาดใหญ่กว้าง 0.7-1.0 เมตร ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลายใบ (midrib) แข็ง เส้นใบมีจำนวนมาก แยกออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจดขอบใบ ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ด้านกลางกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนนโคนแผ่ออกเป็นกาบ (sheath)
ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง เรียกหัวปลี ยาว 30-150 ซม. ก้านดอกช่อ (peduncle) แข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้ (staminate flower) และเพศเมีย (pistillate flower) ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับ (bract) ขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา
ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]

                ใบ           ใบ (lower epidermis) สีขาวนวล ขนาดใหญ่กว้าง 0.7-1.0 เมตร ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลายใบ (midrib) แข็ง เส้นใบมีจำนวนมาก แยกออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจดขอบใบ ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ด้านกลางกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนนโคนแผ่ออกเป็นกาบ (sheath)


                ดอก        ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง เรียกหัวปลี ยาว 30-150 ซม. ก้านดอกช่อ (peduncle) แข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้ (staminate flower) และเพศเมีย (pistillate flower) ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับ (bract) ขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา


                ผล           ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]

                สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์  - ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,ม้ง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)

ผล ปลี หยวก รับประทานได้(เมี่ยน)
หัวปลี ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง ยำ หรือรับประทานสด, ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
- ใบ สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ผลสุก ประกอบพิธีกรรม(คนเมือง)
- ใบ ใช้ห่ออาหารหรือขนม(คนเมือง)
ลำต้น(หยวก) ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,เมี่ยน)
- เปลือกผล แก้ริดสีดวง
ผลกล้วยสุก แก้โรคท้องผูก ความดันโลหิตสูง คอเจ็บ บำรุงผิว รักษาอาการไม่ย่อย ท้องอืดมีกรดมาก สมานแผล แก้บิดมูกเลือด
ผลกล้วยดิบ แก้โรคท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหาร
ต้นและใบแห้ง นำมาเผากินครั้งละ ½-1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก ใบอ่อนอังไฟจนนิ่ม ใบกล้วยแก่ปิดรักษาตาอักเสบ
ใบกล้วย แก้ท้องเสีย ห้ามเลือด แก้บิด แก้ผื่นคันตามผิวหนัง
ต้นกล้วย ทากันผมร่วงและกระตุ้นให้ผมงอก
หัวปลี บำรุงน้ำนม ยางจากปลีกล้วยหรือกาบกล้วย รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ไข้รากสาด ขับน้ำเหลืองเสีย
ดอกกล้วย แก้โรคเบาหวาน ประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน แก้โรคหัวใจ
เปลือกกล้วย แก้ปวดท้องประจำ แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม และคันเป็นผื่น แก้ฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
เหง้ากล้วยแห้ง ตำป่นทาท้องน้อยคนคลอดบุตรทำให้รกลอกภายหลังคลอดบุตร
ยางกล้วย ใช้ห้ามเลือด
-ผลดิบ รสฝาด ทั้งเปลือก หั้นตากแดด บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือ ปั้นเมล็ดรับประทาน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ขท้องเสียเรื้อรัง ผลกล้วยดิบทั้งเปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ
-ผลสุก รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
-เปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตก
-หัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
-น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต
-ใบ รสเย็นจืด ต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
-หยวก รสฝาดเย็น เผาไฟรับประทาน ขับพยาธิ
-เหง้า รสฝาดเย็น ปรุงยาแก้ริดสีดวงทวาร ชนิดมีเลือดออก หรือแผลภายในช่องทวาร

ในแต่ล่ะยุคจนถึงปัจจุบันกล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้แสนวิเศษ ที่สามารถรับประทานได้ตั้งแต่วัยแบเบาะยันคนแก่ โดยแต่ละช่วงอายุจะรับประทานกล้วยน้ำว้าเพื่อประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม ถึงแม้กล้วยน้ำว้าจะให้คุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย และหาซื้อได้ทั่วไปในราคาประหยัด แต่อย่าลืมว่ากล้วยน้ำว้าให้พลังงาน 100 แคลลอรี่ต่อผล หากรับประทานเข้าไปมากแล้วไม่มีการเผาผลาญ อาจส่งผลเสียในเรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ ฉะนั้นไม่ว่าจะรับประทานอะไรก็ตามแต่ ควรควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายนั่นเอง










 แหล่งอ้างอิง
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_13_1.htm





แบบฝึกหัด
บทที่1
แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ชื่อ –สกุล  นางสาวฐิติมา  มหาไชย   รหัสนิสิต 57010813061 กลุ่มที่เรียน 1  คณะเทคโนโลยี 
สาชาชีวภาพ     รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน  รหัสวิชา 0026 008

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ
1.ข้อมูลหมายถึง
ตอบ ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ  
ตอบ  เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการสัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก
ยกตัวอย่างประกอบ.
ตอบ  การสัมภาษณ์คุณหมอเกี่ยวกับโรคเอดส์
3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ .
ตอบ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้ว เป็นข้อมูลในอดีต และมักจะเป็นข้อมูลที่ได้ผ่านการวิเคราะห์เบื้องต้นมาแล้ว ผู้ใช้นำมาใช้ได้เลย จึงประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย บางครั้งข้อมูลทุติยภูมิจะไม่ตรงกับความต้องการหรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอ นอกจากนั้นผู้ใช้จะไม่ทราบถึงข้อผิดพลาดของข้อมูล ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ที่นำมาใช้ สรุปผลการวิจัยผิดพลาดไปด้วย
 ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ สถิติการเกิดโรคเอดส์ในเด็กทารกในปี พ.ศ 2555เป็นข้อมูลที่บางครั้งอาจถูกแปรรูปไปแล้ว แต่เนื่องจากบางครั้งเราไม่สามารถที่จะจัดเก็บข้อมูลปฐมภูมิได้เราจึงต้องศึกษาจากข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมไว้แล้ว

4.สารสนเทศหมายถึง
ตอบ ข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณ ประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ให้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา
5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ
ตอบ การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกออกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บ ดังนี้ 
1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ
     เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำกับสารสนเทศ จำแนกได้ดังนี้
แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือ สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการ ผลของการศึกษาค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ สารสนเทศประเภทนี้มักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย สิทธิบัตร
1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบการสรุป ย่อเรื่อง จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขป เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่าง ๆ วารสารที่มีการสรุปย่อและตีความ รวมถึงหนังสือ ตำรา ที่
1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือ สารสนเทศทีจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมและทุติยภูมิ จะไม่ได้ให้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม
2.สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ
      เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ได้แก่ กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
                2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทีก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันจนถึงปัจจุบัน
                2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นม้วนและเป็นแผ่น มีการจัดเรียงลำดับเนื้อหาตามต้น เช่น เอกสารจดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ เอกสารสำคัญ วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
                2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกหรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อก และดิจิตอล เช่น เทปวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวิดี เป็นต้น ซึ่งมีความจุมากเป็นพิเศษ

6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ
ตอบ ข้อมูล
7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น
ตอบ สารสนเทศ
8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ
9.ผลของการลงทะเบียนเป็น
ตอบ ข้อมูลทุติยภูมิ
10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวันSectionวันอังคารเป็น
ตอบ ข้อมูลปฐมภูมิ





บทที่ 2
บทบาทสารสนเทศกับสังคม

คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่าง ๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.1  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
ตอบ        1. Eduzones
                2.Wikipedia
                3. Dek-d

1.2  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
ตอบ        1.  กรมพัฒนาธุรกิจ
                2.ธนาคารไทยพาริชย์
                3.ธนาคารกรุงไทย

1.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
ตอบ        1.ข่าวไทยรัฐออนไลน์
                2. GossipSter   
                3. SANOOK! New
1.4  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
ตอบ        1. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
                2.ผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรม
                3. กรมโรงงานอุตสาหกรรม

1.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
ตอบ        1.กระทรวงสาธารณสุข
                2.สถาบันแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ)
                3.สถาบันวิจัยวิทยาสาสตร์การแพทย์ทหาร

1.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
ตอบ        1.กองทัพบก
                2.รับสมัครทหารกองหนุน
                3.แจ้งเบาะแสออนไลน์

1.7  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
ตอบ        1.สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
                2.สภาวิศวกร
                3.โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

1.8  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
ตอบ        1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเกษตรกรรม
                2.การเกษตร
                3.การเกษตรจากชุมพร

1.9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่าง ๆ
ตอบ        1.กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
                2. กศน เพื่อคนพิการ
                3.สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

2. มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
ตอบ        1.ห้องสมุดดิจิตอล
                2. ตู้ถอนคือหนังสืออัตโนมัติ
                3. โปรเจคเตอร์

3. ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
ตอบ        1.ห้องสมุดดิจิตอล ใช้ในการสืบค้นข้อมูลที่สะดวกรวดเร็วและไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
                2. ตู้ถอนคือหนังสืออัตโนมัติ สะดวกในการคือหนังสือโดยไม่ต้องรอคิว และสามารถคืนเวลาไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเวลาที่สำนักวิทยาการเปิดก็ได้
                3. โปรเจคเตอร์ ทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้น นั่งอยู่ตรงไหนก็สามารถมองเห็นทำให้เรียนอย่างเข้าใจ


บทที่ 3
การรู้สารสนเทศ
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ
ก. ความสามารถในการกลั่นกลอง และประเมินค่าสารสนเทศที่หามาได้
ข. ความสามารถในการตัดสินใจใช้สารสนเทศรูปแบบต่างๆ
ค. ความสามารถของบุคคลในการสืบค้นและพัฒนาสารสนเทศ
ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ
ตอบ ง. ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

2. จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
ก. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
ข. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
ค. ความสามารถในการประมวลผลสารสนเทศ
ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ตอบ ง. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
ก. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ข. สามารถใช้สารสนเทศในการดำเนินชีวิต
ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม
ง. ใช้คอมพิวเตอร์ในการแสวงหาสารสนเทศได้
ตอบ ค. ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกม


4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
ก.  โลกมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก โดยเน้นวัตถุนิยมมากขึ้น
ข.  ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง
ง.   ช่วยบุคคลเป็นผู้ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตอบ ค.  สารสนเทศมีการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะเข้าถึง

5. ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
1. ความสามารถในการประมวลสารสนเทศ
2. ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ
3. ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความสามารถในการค้นหาสารสนเทศ
5. ความสามารถในการตระหนักว่าเมื่อใดจึงจะต้องการสารสนเทศ
 ก. 1-2-3-4-5                 ข. 2-4-5-3-1              ค. 5-4-1-2-3              ง. 4-3-5-1-2
ตอบ  ค. 5-4-1-2-3              




บทที่ 4
เทคโนโลยีสารสนเทศ
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.      ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน
1)      การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
ตอบ 1. CD 2.บัตร ATM 3. Memory Card
2)      การแสดงผล
ตอบ  1.จอภาพ 2. เครื่องพิมพ์  3. พลอตเตอร์
3)      การประมวลผล 
ตอบ   1.ฮาร์ดแวร์2. เครื่องคิดเลข 3. ซอฟแวร์                            
4)      การสื่อสารและเครือข่าย
ตอบ  1.โทรทัศน์ 2.วิทยุกระจายเสียง 3.โทรเลข

2.       ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
3 ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1. ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
10 Information Technology
2. e-Revenue
7 คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผลข้อมูล
3. เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
4 เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และDecoder
1 ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการททำงาน
5. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
8 ซอฟต์แวร์ระบบ
6. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
9 การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดีย ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
6 EDI
8. โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
5 การสื่อสารโทรคมนาคม
9. CAI
2 บริการชำระภาษีออนไลน์
10. ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ





บทที่ 5
การจัดการสารสนเทศ
คำชี้แจง  จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ
ตอบ การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ
2.การจัดการสารสนเทศมีความสําคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร
ตอบ การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้าน
     1.ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ  ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร
     2.ความสำคัญด้านการดำเนินงาน ในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงาน
    3. ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็น 2ยุค
1.เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
2.การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ        1. การทำโครงงานส่งอาอาจารย์
                2.การอ่านข่าวจากเฟสบุ๊คอย่างมีวิจารณญาณ
                3.การวางแผนการใช้เงินแต่ละเดือน




บทที่ 6
การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทคโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ
ตอบ 2. เทคโนโลยี
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
   1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
   2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
   3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
   4. การพยากรณ์อากาศ
ตอบ 3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม (ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
   1. ระบบอัตโนมัติ
   2. เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ตอบ 1. ระบบอัตโนมัติ
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
   3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
   4. ถูกทุกข้อ
ตอบ   4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
 1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
 2. ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
 3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
 4. การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
ตอบ 3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ

6. เครื่องมือที่สำคัญในการในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
   2. สารสนเทศ
   3. คอมพิวเตอร์
   4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
   2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
   3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
   4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
ตอบ  4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
   1. เครื่องถ่ายเอกสาร
   2. เครื่องโทรสาร
   3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
   4. โทรทัศน์ วิทยุ
ตอบ  3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
   1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานธุรกิจ
   2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
   3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
   4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
ตอบ 3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
10. ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
 1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
 2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
 3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
4. ถูกทุกข้อ
ตอบ 4. ถูกทุกข้อ



บทที่ 7
ความปลอดภัยของสารสนเทศ
คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewall) คือ
ตอบ ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายภายใน (Internet) โดยป้องกันผู้บุกรุก (Intrusion) ที่มาจากเครือข่ายภายนอก (Internet) หรือเป็นการกำหนดนโยบายการควบคุมการเข้าถึงระหว่างเครือข่ายสองเครือข่าย โดยสามารถกระทำได้โดยวิธีแตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบ
2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm , virus computer, spy ware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
ตอบ worm เวอร์มหรือมาโครไวรัส (Macro Virus) หมายถึงโปรแกรมซึ่งเป็นอิสระจากโปรแกรมอื่น ๆ โดยจะแพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ที่อยู่บนเครือข่ายการแพร่กระจายจะคล้ายกับตัวหนอนที่เจาะไซหรือซอกซอนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ และแพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอก (Copy) ตนเองออกและส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป เวอร์มเป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ใช้มาโครโปรแกรม (Macro Programming) ที่อยู่ในโปรแกรมประยุกต์ในการกระจายหรือแพร่พันธุ์ตัวเอง เช่น มาโครในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวอร์ด (Microsoft Word) หรือไมโครซอร์ฟเอ็กเซล (Microsoft Excel) ดังนั้นเมื่อมีการรันโปรแกรมสคริปต์หรือมาโคร เวอร์มจะทำการแพร่กระจายตนเอง ตัวอย่างเช่น เวอร์มที่แนบมากับแฟ้มในอีเมล เมื่อผู้รับเปิดแฟ้มดังกล่าว เวอร์จะเริ่มทำงานทันทีโดจะคัดลอกตนเองและจะถูกส่งไปกับอีกเมลไปให้ผู้อื่นต่อ ๆ ไป
3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
ตอบ แบ่งไวรัสตามพิวเตอร์แบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ Application viruses และ System viruses
              1) Application viruses จะมีผลหรือมีการแพร่กระจายไปยังโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ อาทิเช่น โปรแกรมประมวลผลคำ(Word Processeng) หรือโปรแกรมตารางคำนวณ เป็นต้น การตรวจสอบการติดเชื่อไวรัสชนิดนี้ทำได้โดยดูจากขนาดของแฟ้ม (File size) ว่ามีขนาดเปลี่ยนไปจากเดิมมาน้อยแค่ไหน ถ้าแฟ้มมีขนาดโตขึ้น นั่นหมายถึงแฟ้มดังกล่าวอาจได้รับการติดเชื้อจากไวรัสชนิดนี้แล้ว
              2) System viruses ไวรัสชนิดนี้จะติดหรือแพร่กระจายในโปรแกรมจำพวกระบบปฏิบัติการ Operating systems) หรือโปรแกรมระบบอื่น ๆ โดยไวรัสชนิดนี้มักจะแพร่เชื้อในขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ1. ใช้โปรแกรมสแกนไวรัส
      2. เปิดระบบป้องกันของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall)
      3. การนำ Proxy เข้ามาทำงานร่วมกับไฟร์วอลล์โดยเป็นการติดต่อผ่าน Proxy Server เพื่อป้องกันระบบInternet ให้ปลอดภัย
      4. ไม่กดโหลดอะไรมั่ว ควรอ่านให้ดีๆ
      5. ไม่คลิกโฆษณาหน้าเว็บไซต์ต่างๆ
5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่ 
ตอบ   1. ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
             2. House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน
                     - ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
                     - ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
                     - ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็ก ๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

บทที่ 8
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้

1) “นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่ เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง” การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย ใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ ผิดทางกฎหมาย มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากทำโปรแกรมเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์และทำให้ผู้อื่นเสียหาย และหากนาย B นำโปรแกรมไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็ผิดเช่นเดียวกัน เพราะไม่ใช่โปรแกรมที่นำไปเผยแพร่ เป็นโปรแกรมสร้างมาเพื่อทดลองในงานวิจัย ดังนั้นจึงผิดทั้งจริยธรรมและทางกฎหมาย โดยที่นางสาว C ก็ผิดเช่นเดียวกัน

2) “นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียน ในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J” การ กระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ ไม่ผิดเพราะเด็กชาย K ทำรายงานเพื่อการศึกษา และเนื้อหาในโฮมเพจของนาย J ที่นำมาอ้างอิงมีหลักฐาน อ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้ง รูปประกอบนั้นมาจากแหล่งอ้างอิงน่าเชื่อถือได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น